ข้อมูลงานวิจัย

โครงการวิจัย

“นวัตกรรมกระบวนการยกระดับพ่อครัวสู่การเป็นนวัตกรการบริการ (Chef Innovator)
เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการสู่มาตรฐานมิชลิน (Michelin)”

หลักการและเหตุผล

     จากนโยบายของประเทศไทยในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งกล่าวคือ แนวทางการพัฒนาความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ ตลอดจนการยกระดับศักยภาพ ทักษะ สมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการวางพื้นฐานการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้เป็นอันดับต้นๆ ให้กับประเทศ ซึ่งกลไกสำคัญประการหนึ่งคือ “การขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยทุนมนุษย์” ที่จะต้องมีการปรับตัวและปรับปรุงทักษะฝีมือแรงงาน (Upskill/Reskill) ที่มีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อเป็นการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในยุคดีสปรับชัน อีกทั้งยังเป็นการ เสริมสร้างทักษะและการเติมเต็มศักยภาพของประชาชนให้ทันกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก กลไกการขับเคลื่อนด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับประเทศ และระดับโลก

     จากเป้าหมายดังกล่าวมีความสอดคล้องกับจุดเน้นด้านการวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2567 ที่มีจุดแข็งที่โดดเด่น ในภาคส่วนของการพัฒนาทุนมนุษย์และสหวิทยาการทางด้านอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเน้นการจัดการเรียน การสอน ความเข้มแข็งทางวิชาการ อยู่บนพื้นฐานเดิมของมหาวิทยาลัย จนสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะด้าน การพัฒนาบุคลากรงานครัว ในสังกัดโรงเรียนการเรือน ดังนั้นเพื่อให้มีการสร้างความเข้มแข็งด้านบุคลากรในพื้นที่ดังกล่าว ควบคู่ไปกับการนำอัตลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวและการบริการของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตมามีส่วนขับเคลื่อนในการพัฒนา คณะผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการด้านการพัฒนานวัตกรการบริการ (Chef Innovator) ของพ่อครัว (Chef) สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่มีมาตรฐานในระดับสากล (World class standard)

     ซึ่งในมาตรฐานระดับสากลทางด้านการบริการ คือ มาตรฐานมิชิลิน (Michelin) เป็นมาตรฐานระดับสากล สำหรับการให้บริการในร้านอาหารเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของอาหารและการให้บริการในระดับสากล ซึ่งปัจจุบันมิชลินไก์ได้รวบรวมข้อมูลที่พักและร้านอาหารไว้มากกว่า 35,000 แห่งทั่วโลก ซึ่งมีผลกับการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นมากเนื่องนักท่องเที่ยวจะท่องเที่ยวตามรอยมิชลินเพื่อไปชิมอาหารในประเทศต่างๆ ตามมิชลินไกด์บุค (Michelin Guide) จากจำนวนร้านอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมิชลินยังพบว่ามีอยู่น้อยมากในประเทศไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็น “โอกาส” ที่ประเทศไทยจะมุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการบริการให้ได้มาตรฐานในระดับสากล ทั้งนี้หนึ่งในกลไกที่สำคัญ คือ พ่อครัว หรือ Chef ผู้ที่ให้บริการในร้านอาหารเพื่อส่งมอบอาหารและการบริการที่ดีให้กับผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวที่มารับประทานอาหาร ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบของการให้บริการเปลี่ยนไปค่อนข้างเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการโดยตรงทำให้ร้านอาหารจะต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากที่จะต้องผลิตอาหารให้ได้คุณภาพและมีการบริการในมาตรฐานสากล ซึ่งจะมีผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง เพื่อที่จะเดินทางมารับประทานอาหารตามรอยของ มิชลินไกด์ (Michelin Guide) ให้การรับรองกับร้านอาหารและโรงแรมต่าง ๆ ทำให้เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มีการกำลังซื้อสูง (High Value) อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการรับประทานอาหารที่ได้รับรางวัลมาตรฐานมิชลิน (Michelin)
2. เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะของพ่อครัวและนวัตกรการบริการ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการสู่มาตรฐานมิชลิน (Michelin)
3. เพื่อพัฒนาหลักสูตรนวัตกรการบริการเพื่อยกระดับบุคลากรและธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยสู่มาตรฐานมิชลิน (Michelin)
4. เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้การเป็นนวัตกรบริการ (Chef Innovator Platform)
5. เพื่อจัดทำแนวทางและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย ด้านการยกระดับพ่อครัวสู่และธุรกิจร้านอาหารมาตรฐานมิชลิน (Michelin) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของประเทศ

ทีมวิจัย

Image
รศ.ดร. พรรณี สวนเพลง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Image
ดร. ธนภัทร แสงรุ่งเรือง

โรงเรียนการเรือน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Image
ดร. จันทรจนา ศิริพันธ์วัฒนา

โรงเรียนการเรือน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Image
ผศ.ดร. บุญญาพร เชื่อมสมพงษ์

โรงเรียนการเรือน วิทยาเขตสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Image
ดร. อานง ใจแน่น

โรงเรียนการเรือน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การสึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง

Image
อ.สุรีย์พร ธัญญะกิจ

โรงเรียนการเรือน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การสึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง

Image
อ. ฐิติวรฎา ใยสำลี

โรงเรียนการเรือน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การสึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง

Image
อ. เสาวลักษณ์ กันจินะ

โรงเรียนการเรือน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การสึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง

Image
ผศ.ดร. ฐิติยา เนตรวงษ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Image
อาจารย์ทินกร ชุณหภัทรกุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต